เมนู

อรรถกถาวจีวิญญัตตินิทเทส


ในวจีวิญญัตติก็เหมือนกัน แต่ว่าเนื้อความของบทว่า วจีวิญญัตติ
ดังนี้ และบทนิทเทสทั้งหลายที่ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าวไว้ในทวารกถานั้น พึงทราบ
อย่างนี้ว่า
ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า คนก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งจะ
ให้รู้ภาวะของตนด้วยวาจา แม้สัตว์ดิรัจฉานก็รู้ภาวะของคนได้ หรือคนก็รู้
ภาวะของสัตว์ได้ ด้วยสภาวะนี้ โดยกำหนดเอาตามทำนองแห่งการกำหนด
คำพูด. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิญญัตติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ความหมาย
โดยทำนองแห่งการกำหนดคำพูดได้โดยตนเอง. วิญญัตติคือวจี กล่าวคือการ
เคลื่อนไหวที่ตรัสไว้ในพระบาลีมีอาทิว่า สาธุ วาจาย สํวโร (ความสำรวม
ทางวาจาเป็นการดี) ดังนี้ ชื่อว่า วจีวิญญัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วจีวิญญัตติ เพราะอรรถว่า การแสดงความ
หมายให้รู้ทางวาจา เพราะเป็นเหตุให้เข้าใจความประสงค์ได้ด้วยเสียงของวาจา
และเพราะตนเองก็จะพึงรู้โดยประการนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำเป็นต้นว่า วาจา คิรา (การพูดเปล่งวาจา) ต่อไป.
ที่ชื่อว่า วาจา (การพูด) เพราะอรรถว่า เป็นสภาพอันเขากล่าว.
ที่ชื่อว่า คิรา (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า อันบุคคลเปล่ง. ที่ชื่อว่า
วากฺยเภโท (การกล่าว) เพราะอรรถว่าการเจรจา. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
พฺยปฺปโถ (การเปล่งวาจา) เพราะอรรถว่า คำพูดนั้นด้วย เป็นทางของบุคคล
ผู้ประสงค์จะรู้เนื้อความและยังผู้อื่นให้รู้ด้วย. ที่ชื่อว่า อุทีรณํ (การกล่าว)
เพราะอรรถว่า ย่อมเปล่งออก. ที่ชื่อว่า โฆสะ (การป่าวร้อง) เพราะอรรถ
อันเขาย่อมโฆษณา. ที่ชื่อว่า กรรม เพราะอรรถว่า อันเขาย่อมกระทำ. กรรม